จะรู้ได้อย่างไรว่าลำไส้เราแข็งแรงหรือไม่

ตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้

เราแนะนำให้ท่าน ทำการตรวจความสมดุล จุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเป็นการตรวจทั้งด้านปริมาณ และชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิธี 16s rRNA หรือ qPCR ของเราก็ตาม ลำไส้ที่สมดุล หรือในผลตรวจทดสอบของเรา จะแจ้งว่า “generally balanced” ถือเป็นลำไส้ที่แข็งแรง โอกาสที่จะเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบ มีไขมันมาก ท้องไส้แปรปรวน ความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ การขับถ่ายมีปัญหา ฯลฯ ย่อมมีน้อยลง หากตรวจพบว่าลำไส้ไม่สมดุลอย่างไร เราสามารถเลือกทานผลิตภัณฑ์ ที่มีโพรไบโอติกส์ ที่ตรงกับลักษณะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้

ทั้งนี้การตรวจจุลินทรีย์นี้ ควรทดสอบทุกๆ 3-6 เดือน เนื่องจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นเกิดได้เสมอจากการดำเนินชีวิต เช่น นอนน้อย ทานอาหารที่เผ็ด ไขมันสูง น้าตาลเยอะ มีสารกันบูด การไม่ออกกาลังกาย ความเครียด การรับประทานยาปฏิชีวนะ ทานผักและผลไม้น้อย การทานเหล้าเยอะ ฯลฯ สามารถทาให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพของท่าน ไม่เฉพาะกับแค่ลำไส้ และความสมดุลของจุลินทรีย์ ตัวดีที่เคยมีอยู่จากการทดสอบคราวที่แล้ว อาจหายไปจากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นต้น

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ลำไส้ไม่แข็งแรง สังเกตอย่างไร???

ความเครียด นอนน้อย ทานอาหารหวาน ทานอาหารแปรรูป ไม่ออกกำลัง ทานยาปฏิชีวนะ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนทำลายสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของท่าน ซึ่งส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง

วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าลำไส้ไม่แข็งแรง มีดังนี้

  1. ท้องไส้ปั่นป่วน

หากคุณท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย แน่นท้อง แสบท้องบ่อย นั่นอาจแปลว่าลำไส้ของท่านมีปัญหาการดูดซึมอาหารและกำจัดของเสีย

  1. น้ำหนักตัวเปลี่ยนง่าย

น้ำหนักขึ้นหรือลง โดยไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต เช่น การทานอาหาร การออกกำลังกาย อาจเป็นสัญญาของลำไส้ไม่แข็งแรง เนื่องจากลำไส้มีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร คุมน้ำตาล ฯลฯ มีสาเหตุมาจากภาวะดื้ออินซูลิน หรือมีจุลินทรีย์ไม่สมดุล ส่งผลให้ลำไส้ไม่แข็งแรง

  1. ติดทานรสหวาน

เมื่อจุลินทรีย์ตัวดีของท่านลดจำนวนลง อาจทำให้ท่านอยากทานอาหารหวานมากขึ้น ซึ่งการทานอาหารหวานเพิ่มเข้าไปยิ่งทำลายสุขภาพลำไส้เพิ่มขึ้น

  1. มีปัญหาการนอน อ่อนเพลียบ่อย

เซโรโทนินทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทภายในสมอง รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก การนอน เมื่อฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งถูกผลิตจากลำไส้เป็นหลัก เกิดไม่สมดุลเพราะลำไส้ทำงานไม่ปกติ จะทำให้นอนหลับยาก นอนไม่มีคุณภาพ เหนื่อยอ่อนเพลีย รวมไปถึงเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกในแง่ลบ ความเครียด อาการหงุดหงิดต่างๆ

การเพิ่มเซโรโทนินในร่างกาย สามารถทำได้โดยการออกกำลัง การรับแสงแดด การรับประทานอาหารซึ่งมีสารทริปโตเฟน เช่น ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากนมและชีส ฯลฯ

  1. ผิวหนังอักเสบ ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ 

ลำไส้ที่ไม่แข็งแรง อาจบวมอักเสบ เพิ่มโอกาสที่จุลินทรีย์หรือสารพิษบางอย่างรั่วไหลออกมาจากผนังลำไส้ ออกมาสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการระคายผิวหนัง รวมถึงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ น้ำมูกไหล จาม ฯลฯ

  1. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ลำไส้ที่เสียสมดุลอาจมีอาการอักเสบ รวมถึงส่งผลให้การทำงานของภูมิคุ้มกันผิดพลาด

ซึ่งท่านสามารถช่วยให้ลำไส้ของท่านแข็งแรงขึ้นได้ โดยการสร้างสมดุลให้จุลินทรีย์ลำไส้ของท่าน ปรับพฤติกรรมชีวิต รวมถึงเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โพรไบโอติกส์ อย่างแม่นยำ เริ่มจากการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ลำไส้กับเรา เพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart
No products in the cart.