โพรไบโอติกส์ที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร?
- สายพันธุ์เหมาะสำหรับสภาวะร่างกายที่แตกต่างกันตามบุคคล : ประสิทธิภาพของการรับประทานโพรไบโอติกส์นั้น แตกต่างกันในแต่ละคน คนแต่ละคนนั้นมีจำนวนและความหลากหลายของจุลินทรีย์ชนิดต่างๆไม่เหมือนกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขภาพของคนๆนั้น การเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ โดยที่ไม่ทราบว่าสภาวะของจุลินทรีย์ในตัวผู้รับประทานเป็นอย่างไร จะทำให้ผลลัพธ์ออกมาน่าพอใจน้อยลง ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ซื้อเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ที่มีอยู่ครบถ้วนแล้ว แต่ไม่รับประทานตัวที่มีน้อย เพราะฉะนั้นการเลือกทานโพรไบโอติกส์ ที่สัมพันธ์กับสภาวะจุลินทรีย์ของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้น เราจึงแนะนำให้ลูกค้าของเราเลือกชนิดโพรไบโอติกส์ตามผลทดสอบ
- ซินไบโอติกส์ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งโพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ อยู่ด้วยกัน : พรีไบโอติกส์ คือ อาหารสำหรับโพรไบโอติกส์ การผสมพรีไบโอติกส์เข้าไปในผลิตภัณฑ์ที่มีโพรไบโอติกส์ ช่วยทำให้โพรไบโอติกส์นั้นเจริญเติบโต และอยู่รอดได้ในระบบลำไส้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มจำนวนโพรไบโอติกส์และสร้างความแข็งแรงให้ลำไส้ ผลิตภัณฑ์ของเรานั้น เป็น ซินไบโอติกส์ ที่ผ่านการคิดค้นสูตรอย่างพิถีพิถันในการผสมพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์
- จำนวนชนิดของสายพันธุ์และโพรไบโอติกส์ที่มีชีวิต : ยิ่งมีจำนวนสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์มาก โอกาสที่ผลลัพธ์จากการรับประทานดีจะยิ่งสูง เนื่องจากโอกาสที่สายพันธุ์ที่รับประทานเข้าไป จะไปทดแทนสายพันธุ์ที่มีน้อยหรือขาดหายไปในร่างกายของแต่ละคนจะยิ่งมีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์หลายสายพันธุ์ แต่หากสายพันธุ์เหล่านั้น ไม่ได้เป็นสายพันธุ์ที่ร่างกายไม่มี หรือมีน้อย ซึ่งเป็นการเลือกผลิตภัณฑ์โดยไม่มีความแม่นยำ ก็จะได้ผลลัพธ์ไม่น่าพอใจนัก ในส่วนของจำนวนโพรไบโอติกส์นั้น ยิ่งมีมาก ยิ่งดี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนโพรไบโอติกส์จะมีมาก แต่หากผลิตภัณฑ์ถูกออกแบบมาให้มีความต้านทานกรดน้อย ผลลัพธ์อาจไม่ได้ดีตามจำนวนโพรไบโอติกส์ที่มาก
- มีความสามารถต้านทานกรด ผลที่จะได้รับจากการทานโพรไบโอติกส์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนและสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์ที่ใส่ไปเท่านั้น แต่ยังขึ้นกับว่า ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อโพรไบโอติกส์ ลงไปถึงลำไส้นั้นจะเหลือรอดกี่% ในกรณีปกติหากไม่มีการคิดส่วนผสมที่ทนต่อกรด โพรไบโอติกส์ที่จะลงไปถึงลำไส้จะเหลือรอดเพียง 70% เทียบกับอัตราการเหลือรอดกว่า 97% หากส่วนผสมนั้นทนต่อกรดได้ โพรไบโอติกส์ของเรา ทั้งในลักษณะแคปซูลและแบบซอง มีการทดสอบความสามารถการต้านทานต่อกรด
- ได้รับมาตรฐานการผลิตตามหลัก GMP และ ISO : Good manufacturing practices หรือ GMP นั้น เป็นหลักการผลิตที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อนและการใช้ส่วนผสมที่ผิดในระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งเน้นไปที่การควบคุมคุณภาพสินค้าที่ถูกผลิต ในขณะที่ ISO คือ มาตรฐานสากล มีวัตถุประสงค์ ในการให้หลักเกณฑ์ในการสร้างมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพโดยภาพรวมของผู้ผลิตมากกว่าแค่กระบวนการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ของเรานั้น ผลิตตามมาตรฐาน GMP และ ISO 22000
จุลินทรีย์ตัวร้าย
ดร.ไช่อิงเจี๋ย ศาสตราจารย์สถาบันวิจัยชีวเคมีและอณูชีววิทยา ได้อธิบายถึงจุลินทรีย์ตัวร้ายไว้อย่างน่าสนใจ ว่าจุลินทรีย์ตัวร้ายนั้นทำให้เกิดสารพิษ เช่น สารก่อมะเร็งต่างๆในร่างกาย เช่น อีไมด์ (imide) และ ฟีนอล (phenol) นั้น ถูกผลิตโดยจุลินทรีย์ตัวร้าย ซึ่งปกติ จะถูกส่งไปกำจัดที่ตับ หากจุลินทรีย์ตัวร้ายมีอยู่เยอะมาก สารเหล่านี้ถูกตับขจัดได้ไม่หมด จะทำให้ร่างกายมีปัญหา เช่น ถ้าอีไมด์ถูกกำจัดไม่หมด จะไปทำปฏิกิริยากับไนไตรต์ในลำไส้ กลายเป็นเอ็นไนโตรซามีน (N-nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรง
จุลินทรีย์ชนิดดีหรือโพรไบโอติกส์นั้น เติบโตได้ดีในสภาวะที่ร่างกาย มีความสมดุลระหว่างกรดกับด่าง จุลินทรีย์ตัวร้ายนี้ มักทำให้ร่างกายเป็นด่างมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดี
การลดการแพร่พันธุ์ของจุลินทรีย์ตัวร้าย คือ การทำให้มีจุลินทรีย์ตัวดีแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งจะไปลดจำนวนของจุลินทรีย์ตัวร้าย ทำให้ความเสี่ยง อาการของโรคต่างๆ จะบรรเทาลง