จุลินทรีย์ในลำไส้ ลำไส้ และสมอง เชื่อมโยงกันอย่างไร
ถ้าหากเรานึกถึงลำไส้ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงลำไส้ในแง่ของอวัยวะ ที่ทำหน้าที่เผาผลาญ และดูดซึมสารอาหาร แต่น้อยคนนักที่จะทราบ ว่าลำไส้นั้นอัศจรรย์แค่ไหน
ลำไส้นั้นเหมือนสมองที่ 2 ของร่างกาย มีระบบประสาทของมันเอง ทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องให้สมองสั่งการ และที่สำคัญที่สุด ระบบประสาทของลำไส้ควบคุมลำไส้ และฮอร์โมนที่มีผลต่ออวัยวะร่างๆในร่างกายรวมถึงสมอง ซึ่งการติดต่อกันระหว่างระบบประสาทลำไส้และสมองนี้ เรียกว่า gut-brain axis โรคหลายๆโรคที่เกี่ยวกับระบบสมอง จึงมีที่มาจากความอ่อนแอของลำไส้ ลำไส้ยังเป็นบ้านที่ใหญ่ที่สุดของจุลินทรีย์ในร่างกายของเรา โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ จุลินทรีย์ที่สมดุล ทำให้ลำไส้แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ
งานวิจัยหลายชิ้น ได้ค้นพบว่า คุณภาพการนอนที่แย่ อารมณ์หงุดหงิดแปรปรวน ความเครียด โรคซึมเศร้า รวมถึง โรคอัลไซเมอร์ ฮอร์โมนหลายชนิดที่ส่งผลกับการทำงานของสมอง ผลิตโดยลำไส้ เช่น เซโรโทนิน หรือฮอร์โมนสร้างความสุข หากเซโรโทนินมีปริมาณต่ำเกินไป จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของโรคสมองเสื่อมกับสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากจุลินทรีย์ตัวร้ายในลำไส้อีกด้วย
แม้กระทั่งความหิว ความอิ่ม ก็เกิดจากการสื่อสารด้วยฮอร์โมนระหว่างสมองและระบบทางเดินอาหาร ฮอร์โมนเลปตินนี้ถูกผลิตโดยลำไส้ จะส่งสัญญาไปให้สมองทำให้เรารู้สึกอิ่ม หากลำไส้แปรปรวน ฮอร์โมนชนิดนี้ทำงานผิดพลาด เราก็จะกินอาหารมากเกิน จนอาจทำให้น้ำตาลสูง เกิดโรคเบาหวาน เกิดโรคอ้วนต่อไป
จะได้เห็นว่าระบบประสาทลำไส้มีความเชื่อมโยงกับสมองของเราอย่างมาก ระบบประสาทลำไส้ จะทำงานได้ดี หากจุลินทรีย์ของเราสมดุล เราจึงควรดูแลจุลินทรีย์ของเราตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์จะนำไปสู่โรคเรื้อรังที่ยากจะรักษา ในตอนต่อไป ผู้เขียนจะเล่าถึงความเชื่อมโยงระหว่างจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรากับระบบทางเดินอาหาร
บทความสรุปจากรายการ คุยสนุก เรื่องสุขภาพ โดย นพ.พิชัย นำศิริกุล