ลำไส้สำคัญอย่างไร

มนุษย์เรามีจุลินทรีย์ในร่างกายมากกว่า 20 ล้านยีน!

  • มนุษย์มีเซลล์จุลินทรีย์อยู่มากกว่า 100 ล้านล้าน มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 2 กิโลกรัม ซึ่งในนี้เป็นจุลินทรีย์ในลำไส้มากกว่า 10 ล้านยีนโดยมีระบบการพึ่งพิงกันอย่างซับซ้อน ในขณะที่มนุษย์มีเพียง 30 ล้านล้านเซลล์ (Biochemical Journal (2017) 474 1823–1836)
  • จุลินทรีย์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารมีมากถึง 100,000 ล้านตัวเลยทีเดียว และกว่า 85% เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
  • ลำไส้มีเซลล์ประสาทมากกว่า 100 ล้านเซลล์ มีระบบประสาทที่ซับซ้อนที่สุดรอบจากสมอง ซึ่งเรียกว่า”ระบบประสาทลำไส้” (enteric nervous system–ENS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system–CNS) มีความรู้สึก รับรู้ และจดจำได้เหมือนสมอง สามารถรับรู้สัญญาณจากลำไส้ ตัดสิน และออกคำสั่งได้ ในขณะที่อวัยวะอื่นๆ จะรับสัญญาณแล้วส่งกลับไปให้สมองเท่านั้น
  • ในร่างกายคนเราประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ 2 ประเภท
    1. จุลินทรีย์ตัวดี: รักษาสุขภาพลำไส้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วยการขับถ่าย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เผาผลาญไขมัน และลดสารพิษในลำไส้
    2. จุลินทรีย์ตัวร้าย: ทำการย่อยโปรตีนกลายเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเมื่อมีปริมาณมากๆ จะถูกกำจัดที่ตับได้ไม่หมด เช่น อีไมด์ จะไปทำปฏิกิริยากับไนไตรต์ในลำไส้ กลายเป็น เอ็นไนโตรซามีน เป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรง นอกจากจุลินทรีย์ตัวร้าย ยังทำให้เกิดการอักเสบ หากมีจำนวนมากจะโจมตีจุลินทรีย์ที่ดี ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดโรค
  • พฤติกรรมต่างๆ ไม่ว่าการทานอาหารเผ็ด การทานอาหารหวาน การใช้ยาปฏิชีวนะ ความเครียด ฯลฯ ล้วนทำลายสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หากเสียสมดุล ลำไส้จะทำงานผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังและร้ายแรงต่างๆ

ลำไส้ส่งผลกับภูมิคุ้มกัน การดูดซึม การเผาผลาญ การสร้างฮอร์โมน และสภาวะทางจิตใจ

  • เป็นอวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันสำคัญสุด เพราะ 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันของคนเราอยู่ในลำไส้ ซึ่งโดยหลักแล้วเซลส์เหล่านี้จะคอยจัดการกับเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ป้องกันการเจ็บป่วยโดยช่วยยับยั้งการเติบโตและต่อสู้กับเชื้อโรค หากลำไส้ไม่แข็งแรง จะถูกเชื้อโรคเข้าโจมตี ภูมิคุ้มกันจะต่อสู้และตายในลำไส้ ไม่มีกำลังพอที่จะไปคุ้มกันระบบหายใจ ปัสสาวะ และสืบพันธุ์
  • เหมือนสมองที่สองของมนุษย์ ลำไส้มีระบบประสาทอัตโนมัติ สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไม่ต้องให้สมองสั่งการเรียกว่า ซึ่งควบคุมการย่อย เปลี่ยนเป็นสารอาหารระดับโมเลกุลที่ร่างกายดูดซึมได้ และสร้างฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย ฮอร์โมนหลายชนิดหลั่งจากลำไส้ และถักทอเป็นตาข่ายฮอร์โมน หากจุลินทรีย์ไม่สมดุล ลำไส้ไม่แข็งแรง จะเกิดปัญหากับการย่อยและการดูดซึม ตาข่ายฮอร์โมนจะไม่สมดุล เกิดความผิดปกติทางเมทาบอลิค ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่นๆในร่างกาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคลำไส้แปรปรวน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ
  • งานวิจัยทางการแพทย์พบว่า ลำไส้กับสมอง มีความสัมพันธ์กัน
    –> 80-90% ของสารSerotonin ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททางด้านอารมณ์ผลิตขึ้นจากสมองช่องท้องเป็นหลัก ซึ่งสารดังกล่าวเกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางจิตใจ มีผลต่อการปรับอารมณ์ การนอน การจดจำ และการเรียนรู้
    –> ผู้ป่วยโรคลำไส้เรื้อรังกว่า 70% มักผ่านความเศร้าโศกจากการจากไปของผู้ใกล้ชิด
    –> เด็กออทิสติกส่วนใหญ่มักมีอาการอักเสบที่ลำไส้อย่างชัดเจน (ลำไส้ดีชีวียืนยาว, ดร.ไช่อิงเจี่ย)

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart
No products in the cart.