เรื่องของการตรวจจุลินทรีย์
Q: การตรวจจุลินทรีย์ มีกี่ประเภท และเก็บตัวอย่างจากอะไร?
A: โดยหลักแล้วการตรวจจุลินทรีย์ มี 3 ประเภท คือ
- การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ Gut Microbiome ใช้วิธีเก็บตัวอย่างอุจจาระ
- การตรวจจุลินทรีย์ในช่องปาก หรือ Oral Microbiome ใช้วิธีเก็บตัวอย่างน้ำลาย
- การตรวจจุลินทรีย์บนผิว หรือ Skin Microbiome ใช้วิธีเก็บตัวอย่างบนผิวหนัง
การตรวจจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือ Gut Microbiome
Q: การทดสอบแบบ 16S rRNA และการทำ RT-qPCR ต่างกันอย่างไร?
A : 16s rRNA เป็นการระบุชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ การทดสอบนี้มีหลักพื้นฐานอยู่ที่การตรวจลำดับยีนในส่วน 16s rRNA ของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความหลากหลายอย่างมาก(ไม่ซ้ำกัน) ทำให้สามารถจำแนกชนิดจุลินทรีย์ได้ ถือเป็น Next Generation Sequencing (NGS) เป็นวิธีตรวจลำดับยีนที่พัฒนาขึ้นมาจาก First Generation Sequencing มีข้อดีคือไม่จำเป็นต้องเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์เพิ่มเติม สามารถใช้ตัวอย่างที่เก็บมาได้โดยตรง และสามารถตรวจลำดับยีนจำนวนมากได้พร้อมกัน
ในขณะที่ Real-time PCR หรือ quantitative PCR (qPCR) เป็นวิธีการวัดและเพิ่มจำนวน DNA ซึ่งเพิ่ม fluorescent dye (สารเรืองแสง) เข้าไป เพื่อศึกษา DNA เป้าหมายในรอบของการเพิ่มจำนวนในขณะที่ปฏิกิริยากำลังดำเนินตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุด (real-time detection) โดย fluorometer (เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณแสง fluorescence) จะทำการตรวจวัดสัญญาณสารเรืองแสง ที่ถูกปล่อยออกมา โดยปริมาณแสงที่วัดได้จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณ DNA ที่เพิ่มขึ้นจากปฏิกิริยา ในแต่ละรอบ โดยผลตรวจของการตรวจแบบ RT-qPCR มักจะแสดงผลถึงระดับสายพันธุ์ ในขณะที่ 16s จะเห็นแค่ระดับ genus
Q: แพ็กเกจตรวจจุลินทรีย์ แบ่งเป็นกี่ประเภท?
A: แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก
- Semi-personalized probiotics ตรวจจุลินทรีย์เฉพาะกลุ่มโรค เพื่อรับโพรไบโอติกส์ตามผลตรวจ ได้แก่ แพ็กเกจ Colon Care, Allergy & Skin Care, Toxin Relieve และ Metabolic Balance
- Personalized probiotics ตรวจจุลินทรีย์ครอบคลุมหลายกลุ่มโรค เลือกโพรไบโอติกส์เฉพาะบุคคล ได้แก้ แพ็กเกจ Total Body and Mind Care
Q: จะทราบได้อย่างไรว่าควรเลือก แพ็กเกจใด?
A: ท่านควรเลือกชุดตรวจ ตามกลุ่มอาการที่ท่านมีความกังวลว่าท่านเสี่ยงจะเป็น หรือเลือกตามกลุ่มอาการที่ท่านป่วยแล้ว โดยชื่อแต่ละแพ็กเกจตรวจวิเคราะห์นั้นจะบอกชื่อกลุ่มอาการไว้อย่างชัดเจน หากท่านต้องการทราบอย่างละเอียดในทุกกลุ่มอาการ ขอแนะนำให้ท่านเลือกตรวจ Total Body and Mind Care
Q: แพ็กเกจตรวจแต่ละPanel ตรวจกลุ่มอาการที่ต่างกันได้อย่างไร?
A: กลุ่มอาการต่างๆที่เกิดจากลำไส้ไม่แข็งแรงนั้น มาจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน เพราะฉะนั้นเซตของจุลินทรีย์ที่ตรวจในแต่ละชุดตรวจวิเคราะห์ จะเป็นจุลินทรีย์ต่างชนิดกัน ซึ่งแต่ละชนิดที่เลือกมา ได้รับการศึกษาวิจัยว่ามีผล ต่อกลุ่มอาการที่ต้องการทราบ
Q: ถ้าหากว่าอยากทราบว่าโพรไบโอติกส์ตัวไหนมีประโยชน์สำหรับสุขภาพทางเดินอาหาร จะทดสอบแบบไหนดีกว่ากัน?
A: หากต้องการเข้าใจถึงประเภทของโพรไบโอติกส์ เช่น การอ่านผลเฉพาะเจาะจงของสายพันธุ์ ความเสี่ยงเฉพาะอย่าง และการเลือกโพรไบโอติกส์ที่ตรงสายพันธุ์ เราแนะนำให้คุณเลือกการทดสอบแบบ RT-qPCR ซึ่งประหยัดเวลามากกว่า และได้ผลที่แม่นยำไม่แพ้ 16S rRNA ซึ่งการทดสอบของเรานั้น ออกแบบมาให้ครอบคลุมการตรวจหาโพรไบโอติกส์สายพันธุ์สำคัญๆ เมื่อได้ผลทดสอบแล้วจะทราบถึงสาเหตุของโรค หรือความเสี่ยงของโรคอื่นๆ เพื่อจะเลือกรับประทานโพรไบโอติกส์ได้ถูกผลิตภัณฑ์ และวัดผลก่อนและหลังการเริ่มรับประทานโพรไบโอติกส์ได้อย่างแม่นยำมากกว่า 16s อีกด้วย
Q: ระยะเวลาการตรวจ Gut Microbiome?
A: วิธี RT-qPCR ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังตัวอย่างถึงห้องแล็บ ในขณะที่ 16s rRNA ใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์
Q: มีความเสี่ยงด้านไหนบ้างหรือไม่ของการเก็บตัวอย่างอุจจาระ?
A: การทดสอบของเราออกแบบมาให้ไม่มีการเจ็บ ไม่ต้องมีการจิ้ม ไม่เลอะ ไม่สัมผัสร่างกาย หรือ สอดใส่อุปกรณ์ เข้าไปในร่างกายของผู้รับการตรวจ ไม่มีแผล เกิดขึ้นจากการเก็บตัวอย่าง เพราะฉะนั้นปราศจากความเสี่ยงและความไม่ปลอดภัยทางสุขภาพ
Q: ถ้าจุลินทรีย์เปลี่ยนเพราะพฤติกรรม และพฤติกรรมเปลี่ยนตลอดเวลา จะหาความแม่นยำอย่างไร?
A: นอนน้อย เครียด ทานอาหารเผ็ด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่มักเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน ซึ่งแน่นอนว่ามีผลกับจุลินทรีย์ อย่างไรก็ตามการที่จุลินทรีย์จะเปลี่ยนลึกถึงระดับโครงสร้างจริงๆ ต้องเกิดจากการทำพฤติกรรมเหล่านั้น ซ้ำๆกันเป็นระยะหนึ่ง จึงเป็นเหตุที่ทำให้เราแนะนำว่าการตรวจจุลินทรีย์ควรทำอย่างน้อยเมื่อเกิน 3 เดือนขึ้นไป
Q: น้ำยาใสๆในหลอดเก็บตัวอย่างมีไว้ทำอะไร?
A: น้ำยานั้นคือ preservative มีหน้าที่เก็บรักษาตัวอย่างอุจจาระให้อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับนำไปตรวจวิเคราะห์ผลที่แล็บของเราที่ Hong Kong Science Park โปรดระมัดระวังอย่าทำน้ำยาหก เพราะหากน้ำยาหกหรือเหลือน้อยเกินไป ตัวอย่างอุจจาระจะแห้ง ไม่สามารถใช้ได้
Q: ควรเก็บอุจจาระปริมาณเยอะขนาดไหน?
A: การเก็บตัวอย่างอุจจาระนั้น ให้ใช้ก้านสำลีจิ้มลงในอุจจาระ แล้วหมุนก้านสำลี ให้ตัวอย่างอุจจาระติดสำลีขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องตักอุจจาระมาเป็นก้อนเพื่อนำใส่หลอดเก็บตัวอย่าง เนื่องจากอุจจาระที่เป็นก้อนนั้น มีปริมาณเยอะเกิน และจะดูด preservative จนแห้งและพองเต็มหลอดเก็บตัวอย่างอุจจาระ ไม่สามารถใช้การได้
Q: การเก็บตัวอย่างช่วงไหนเหมาะสมที่สุด?
A: คุณสามารถเก็บตัวอย่างเวลาใดก็ได้ ตัวอย่างที่เก็บนั้นไม่มีความแตกต่างกันตามช่วงเวลาที่เก็บ อย่างไรก็ตามไม่ควรจะเก็บตัวอย่างในช่วงที่ใช้ชีวิตไม่ปกติ เช่น ป่วย หรือทานบุฟเฟ่ต์
Q: วิธีตรวจ ตรวจอย่างไร ส่งที่ไหน?
A: ตรวจโดยเก็บอุจจาระ วิธีเก็บสิ่งส่งตรวจ https://www.youtube.com/watch?v=WHacM-w1RS0
โดยเราจะส่งชุดเก็บไปที่บ้านของท่าน หลังจากที่เก็บสิ่งส่งตรวจเรียบร้อย ส่งกลับมาที่ ไบโอเมดเทคโนโลยีฯ 5/30ซอยพหลโยธิน8ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400 เบอร์โทร.088-591-9961
Q: ผลตรวจของคุณถือว่าเป็นความลับหรือไม่?
A: เราจะเก็บรักษาความลับของผลตรวจของคุณ เกือบทั้งหมดแล้วขั้นตอนของการวิเคราะห์ผล จะถูกเชื่อมโยงกับการทำรายงาน ด้วยชุดตัวเลข เพื่อที่จะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ทราบว่ากำลังตรวจให้ใคร และเราจะไม่เปิดเผยผลตรวจของคุณให้กับบุคคลอื่น หากไม่ได้แจ้งก่อน (ยกเว้นกรณีต้องให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญแนะนำ) ผลตรวจนั้นจะถูกนำมาใช้สำหรับการเก็บข้อมูลไว้กับเราเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและวิจัยเท่านั้น
Q: เมื่อทราบผลตรวจแล้วต้องทำอย่างไรต่อ?
A: ในผลตรวจวิเคราะห์ จะมีคำอธิบายถึงระดับความสมดุล-ไม่สมดุลของจุลินทรีย์แต่ละชนิด ซึ่งจะผ่านการประเมินผลด้วยฐานข้อมูลของเรา ว่าลักษณะดังกล่าวนั้น นำไปสู่ความเสี่ยงหรือการเจ็บป่วยของกลุ่มอาการใด พร้อมกับคำแนะนำชนิดของโพรไบโอติกส์ที่ควรรับประทาน และการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ให้จุลินทรีย์กลับมามีความสมดุล เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของลำไส้ และสุขภาพของท่านโดยรวม
Q: เราประเมินและแปลผลข้อมูลอย่างไร?
A: การประเมินผลและแปลข้อมูลของเรามาจากฐานข้อมูล 2 แหล่ง คือ medical literatures และการเก็บข้อมูลโดยตรงเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ถูกนำมาใช้ในการแปลผลตรวจของลูกค้าของเรา โดยเป็นการเปรียบเทียบความชุกชุมสัมพัทธ์หรืออัตราส่วนของแบคทีเรียชนิดต่างๆของเจ้าของอุจจาระกับของผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
Q: ปัจจัยด้านต่างๆ เช่น ภูมิศาสตร์ หรือ อาหาร มีความแตกต่างในการวัดผลอย่างไร?
A: ความสมดุลของจุลินทรีย์ของบุคคลต่างชาติพันธุ์กันย่อมไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการประเมินผลของเราจึงอิงจากค่าเฉลี่ยของคนที่แข็งแรงโดยเอาปัจจัยทางด้านชาติพันธุ์มาเป็นตัวแปรในการประเมินผล สำหรับคนไทยนั้น ด้วยความที่ทางบริษัทฯ ได้มีการเก็บข้อมูลตัวอย่างไว้หลายร้อยตัวอย่าง ประกอบกับลักษณะของคนไทย ไม่ต่างจากคนฮ่องกงมากนัก จึงทำให้การประเมินผลนั้นมีความแม่นยำสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ เช่น แอฟริกัน ฯลฯ
Q: ตัวอย่างอุจจาระเมื่อเก็บแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไหร่ก่อนนำส่งห้องแล็บ?
A: ตัวอย่างอุจจาระที่เก็บและนำใส่ไว้ในpreservativeในหลอดเก็บตัวอย่างอุจจาระสามารถมีอายุได้ประมาณ 2 เดือน ที่จะนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการได้โดยไม่ทำให้ผลคลาดเคลื่อนหรือไม่สามารถทดสอบได้
Q: เมื่อได้รับผลตรวจแล้ว นัดแพทย์เพื่อทำการปรึกษาอย่างไร?
A: ท่านสามารถทำการนัดหมายแพทย์ ได้ทาง line OA ของ BioMed ในกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถพบแพทย์ และต้องการเลื่อนการนัดหมายใหม่ ขอให้ลูกค้าแจ้งทางทีมงานก่อนเวลาทำการนัดหมาย 90 นาที หากน้อยกว่านั้นหรือมาช้าเกิน 10 นาทีจะถือว่าลูกค้าสละสิทธิ ในกรณีนัดหมายใหม่จะมีค่าบริการเพิ่ม 500 บาท