โพรไบโอติกส์และจุลินทรีย์ตัวร้าย

โพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่เป็นแลคติกแอซิดแบคทีเรีย แต่ไม่ทุกสายพันธุ์ ถือเป็นโพรไบโอติก โดยต้องผ่านการวิจัยและพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ ถึงเรียกว่าโพรไบโอติกส์

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

  1. ช่วยปรับเยื่อบุในลำไส้ ลดการอักเสบ เป็นกำแพงชีวภาพ
    • ช่วย รักษาสภาพความเป็นกรดในลำไส้ : กรดนั้นยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์ตัวร้ายไว้ ช่วยกระตุ้นการผลิตจุลินทรีย์ชนิดดี เมื่อจุลินทรีย์ตัวร้ายน้อยลงสารพิษน้อยลง โดยลำไส้ดีมักมีกรดไขมันห่วงโซ่สั้นจำนวนมาก ซึ่งจะเข้าไปในเซลส์ของจุลินทรีย์ตัวร้าย ยับยั้งการเผาผลาญพลังงานของเซลส์ ทำให้จุลินทรีย์ตัวร้ายหิวตาย ถ้ากรดไขมันห่วงโซ่สั้นไม่พอ เซลส์ลำไส้จะแบ่งตัวไม่ได้ และไม่อาจรักษาลำไส้ให้แข็งแรง
    • ฆ่าจุลินทรีย์ตัวร้าย : โพรไบโอติกส์ส่วนมาก หลั่งสาร ไนซิน หรือ แบคทีริโอซิน ฆ่าแบคทีเรียแกรมลบ เชื้อคลอสทริเดียม
    • ขยายอาณาเขต ให้จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ : จุลินทรีย์จะขยายตัวได้เร็ว ถ้าเกาะผนังลำไส้ได้ เมื่อถ้าจุลินทรีย์ดี เกาะผนังลำไส้ได้ได้ ก็ขยายตัวรวดเร็ว ปล่อยกรดไขมันห่วงโซ่สั้นและไนซิน ไปฆ่าจุลินทรีย์ตัวร้าย
  2. กระตุ้นการทำงานเซลล์ภูมิคุ้มกัน เยื่อบุลำไส้นั้นคอยป้องกันเชื้อโรค โพรไบโอติกส์เมื่อเข้าสู่ลำไส้แล้วจะเดินทางไปยังต่อมน้ำเหลืองบนลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นศูนย์รวมภูมิคุ้มกันลำไส้ โพรไบโอติกส์มีผลต่อเซลส์เพชฌฆาต ทีเซลส์ บีเซลส์ จึงปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันลดภูมิแพ้ และกระตุ้นเซลส์เพชฌฆาตเพื่อฆ่ามะเร็ง

โพรไบโอติกส์ ช่วยป้องกันและบรรเทา อะไรบ้าง?

  1. ปัญหาด้านลำไส้ ท้องผูก ท้องเสีย ระบบย่อยอาหารแปรปรวน
  2. บรรเทาภูมิแพ้ ปรับภูมิคุ้มกัน
    • ผิวหนังอักเสบ ช่วยลด โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ให้ทานโพรไบโอติกส์
    • ลดอาการบวมของเยื่อต่างๆ
  3. ป้องกันระบบภูมิคุ้มกันบริเวณเยื่อเมือก (พวกไข้หวัด ทำให้เยื่อเมือกแข็งแรง รวมถึงลดการติดเชื้อระบบสืบพันธุ์)
  4. ป้องกันมะเร็ง โดยการยับยั้งจุลินทรีย์ตัวร้ายในลำไส้ ทำให้สารก่อมะเร็งลดลง ขณะเดียวกันทำให้ภูมิคุ้มกันตื่นตัว โดยเฉพาะเซลล์เพชฌฆาต ลดโอกาสเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้
  5. กลุ่มอาการผิดปกติทางเมทาบอลิค การเผาผลาญบกพร่อง ไขมันสะสม น้ำตาลสูง ความดันโลหิตสูง โดยโพรไบโอติกส์นั้น จะช่วยลดไขมันในเลือดกับคลอเรสตอรอล (ต้องควบคู่กับการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ) กรดน้ำดีที่สร้างจากคลอเรสตอรอลที่ถูกตับขับไปสู่ลำไส้จะเจอกับจุลินทรีย์ กรดน้ำดีจะถูกย่อย กลายเป็นกรดน้ำดีอีกชนิด ที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งตับจะไม่ดูดซึม และถูกขับออกจากร่างกายไป โดยโพรไบโอติกส์นั้น จะช่วยลดไขมันในเลือดกับคลอเรสตอรอล (ต้องควบคู่กับการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ) กรดน้ำดีที่สร้างจากคลอเรสตอรอลที่ถูกตับขับไปสู่ลำไส้จะเจอกับจุลินทรีย์ กรดน้ำดีจะถูกย่อย กลายเป็นกรดน้ำดีอีกชนิด ที่ไม่ละลายน้ำ ซึ่งตับจะไม่ดูดซึม และถูกขับออกจากร่างกายไป
  6. โรคจิตเภท เช่น โรคเหนื่อยล้าเรื้อรัง โรคซึมเศร้า
    เช่น คนกินไบฟิโดแบคทีเรียม ทำให้อารมณ์ดี ดัชนีวิตกกังวลลด โดยที่ลำไส้หลั่งเซโรโทนินออกมา ส่งสัญญาณความสุขไปให้สมองประสาทเวกัส ถ้าเซโรโทนินลด จะซึมเศร้า
  7. บำรุงผิวพรรณ ผลกระทบของอารมณ์และประสาทที่มีต่อผิวหนัง อาการซึมเศร้า กระวนกระวายเปลี่ยนสมดุลจุลินทรีย์ลำไส้ และการดูดซึมลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดปัญหาผิวหนัง หรืออธิบายง่ายๆว่า อารมณ์มีผลต่อลำไส้ และลำไส้มีผลต่อผิวหนัง จึงเป็นการลดการอักเสบของผิวหนัง สิวอักเสบ

 

Start typing and press Enter to search

Shopping Cart
No products in the cart.